Learning ( เนื้อหาที่เรียน )
1.ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)
ประเภทของเด็ดพิเศษแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ
**เด็กปัญญาเลิศ (Gifted Child)
เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา
-มีความถนัดเฉพาะทางสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
-ลักษณะของเด็กปัญญาเลิศ
-พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
-เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
-อยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบซักถาม
-มีเหตุผลในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก
-จดจำได้รวดเร็วและแม่นยำ
**เด็กฉลาด
ตอบคำถาม สนใจเรื่องที่ครูสอน ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน ความจำดี เรียนรู้ง่ายและเร็ว เป็นผู้ฟังที่ดี พอใจในผลงานของตน
**Gifted
ตั้งคำถาม เรียนรู้สิ่งที่สนใจ ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน เบื่อง่าย ชอบเล่า ติเตียนผลงานของตน
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้อน
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
1.1เด็กเรียนช้า
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
1.2เด็กปัญญาอ่อน
-ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
1.2.1เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
เรียนในระดับประถมศึกษาได้
สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
อาการ
ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired )
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
**เด็กหูตึง
หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
**เด็กหูหนวก
- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติและ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
**เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
**เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
- เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
เด็กออทิสติก
เด็กพิการซ้อน
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
1.1เด็กเรียนช้า
- สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
- เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
- มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
- มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
1.2เด็กปัญญาอ่อน
-ระดับสติปัญญาต่ำ
- พัฒนาการล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
- มีพฤติกรรมการปรับตนบกพร่อง
- อาการแสดงก่อนอายุ 18
1.2.1เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20
- ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง ๆ ได้เลย
- ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า C.M.R (Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
- พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย ๆ ได้
- สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
- เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R (Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
เรียนในระดับประถมศึกษาได้
สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R (Educable Mentally Retarded)
ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
อาการ
ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
เพดานปากโค้งนูน ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
มือแบนกว้าง นิ้วมือสั้น
เส้นลายมือตัดขวาง นิ้วก้อยโค้งงอ
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired )
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก
**เด็กหูตึง
หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือเสียงจากที่ไกล ๆ
2. เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก ได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะ 1 ฟุต การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
**เด็กหูหนวก
- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป
3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น (Children with Visual Impairments)
- เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติและ มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอดไม่สนิท
**เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
**เด็กตาบอดไม่สนิท
- เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
- สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
- เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น
เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า
เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
Skills ( ทักษะที่ได้ )
-ทักษะการตอบคำถาม
-ทักษะการวิเคราะห์
-ทักษะการวิเคราะห์
Teaching Techniques ( เทคนิคการสอน )
ใช้สื่อเหมาะสมกับเนื้อหา มีตัวอย่างที่สามารถมองเห็นได้ จากวิดีโอ จาก youtube
Applications in Life ( การนำไปประยุกต์ใช้ )
ใช้เป็นความรู้เบื้องต้น เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการสังเกตเด็กในห้องเรียน ว่ามีอาการผิดปกติ หรือเข้าข่ายเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทใด
Evaluation ( การประเมิน )
Teacher แต่งกายสุภาพ เข้าสอนตรงเวลาใช้เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียนที่ดีและมีกิจกรรมผ่อน คลายให้กับนักศึกษา
students แต่งกายสุภาพ ตั้งใจเรียน
classroom สะอาด เเละเอื้ออำนวยต่อการทำกิจจกรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น